วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 6 ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ



มาทำความรู้จักกับ “9 วิชาสามัญ” ที่จะเริ่มใช้ในการสอบรับตรงปี 59 กันครับ จริงๆแล้ว 9 วิชาสามัญไม่ใช่ข้อสอบใหม่อะไรเลยเพียงแค่มันอัพเกรดขึ้นมาจาก “7 วิชาสามัญ” ของปีที่แล้วโดยเพิ่มวิชาสอบเข้ามา 2 วิชาเท่านั้นเองครับ

9 วิชาสามัญ กำแพงที่รอให้ปีนข้ามเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

9 วิชาสามัญคือการสอบตรงเข้าสู่มหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อสอบกลาง แต่ยื่นคะแนนตรงกับมหาวิทยาลัย ใครยังไม่รู้จักระบบการสอบแอดมิชชันส์และการรับตรง ให้อ่านที่นี่นะครับ พี่โอเล่เขียนเอาไว้ในเว็ป admission.in.th ละเอียดมากๆครับ
ปีก่อนหน้านี้เจ้าระบบสอบตรงโดยใช้ข้อสอบกลางอันนี้เคยมีชื่อว่า “7 วิชาสามัญ” มาก่อนครับ โดยปีนี้ก็ได้อัพเกรดตัวเอง เพิ่มวิชาเข้ามาสองวิชาคือ คณิตศาสตร์ของสายศิลป์ และวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์ครับ ทำให้ 9 วิชาสามัญมีจำนวนวิชาที่ใช้สอบดังนี้
1.วิชาภาษาไทย
2.วิชาสังคมศึกษา
3.วิชาภาษาอังกฤษ
4.วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
5.วิชาฟิสิกส์
6.วิชาเคมี
7.วิชาชีววิทยา
8.วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
9.วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา)

ต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลยเหรอ?

ไม่จำเป็นครับ ที่มันชื่อ “9 วิชาสามัญ” ก็เพราะว่ามันมีวิชาให้เลือกสอบทั้งหมด 9 วิชา ไม่ใช่ว่าต้องสอบทั้ง 9 วิชานะครับ ส่วนเราจะต้องสอบวิชาอะไรบ้างก็ให้ตรวจสอบกับทางคณะ/มหาวิทยาลัยที่เราจะยื่นคะแนน ว่าเขาต้องการคะแนนวิชาไหนบ้าง เท่านั้นเองครับ

ตัวอย่างเช่น

1. หมอกอยากสอบตรงเข้าคณะนิเทศน์ มหาวิทยาลัย A หมอกก็เข้าไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้: ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์2, วิทยาศาสตร์พื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 5 วิชา หมอกจึงไปสมัครสอบ 5 วิชานี้ และนำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะนิเทศน์ มหาวิทยาลัย A
2. ขวัญอยากสอบตรงเข้าคณะทันตะ มหาวิทยาลัย B ขวัญก็เข้าไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้: ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์1,ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ รวมทั้งสิ้น 7 วิชา ขวัญจึงไปสมัครสอบ 7 วิชานี้ และนำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะทันตะ มหาวิทยาลัย B
3. วิน ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการคณะอะไร อยากเรียนหลายคณะ บัญชี สถาปัตย์ วิศวะ อักษร ฯลฯ วินไปเช็คกับเว็ปทุกคณะเจอว่าตัวเองต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลย วินก็สมัครสอบไป 9 วิชา

แล้วมันต่างจากแอดมิชชันส์ตรงไหน?

ตอบได้ตรงๆเลยครับว่าภาพรวมมันเหมือนกันมาก เรียกได้ว่ามองผ่านๆนี่ยังกะฝาแฝดคลานตามกันมาเลย แต่ถ้าจ้องดูดีๆก็จะพบว่าต่างกันตรงรายละเอียดปลีกย่อยหลายๆอย่าง

ส่วนที่เหมือน

  • ใช้ข้อสอบรวม สอบทีเดียว
  • ออกข้อสอบโดย สทศ.

ส่วนที่แตกต่าง

สรุปได้ดังนี้ครับ

หัวข้อแอดมิชชันส์9 วิชาสามัญ
ข้อสอบ O-Netใช้คำนวณคะแนนด้วยไม่ใช้คำนวณคะแนน
เกรดเฉลี่ย GPAนำมาคิดคะแนนด้วย ทำให้เด็กจากโรงเรียนที่แข่งขันสูงเสียเปรียบไม่นำมาคิดคะแนน แต่จะกำหนดเกณฑ์เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำเอาไว้แทน ถ้าเกรดสูงกว่าเกณฑ์ก็สามารถยื่นคะแนนได้
สัดส่วนคะแนนของแต่ละวิชาเท่ากันหมดสัดส่วนคะแนนแต่ละวิชาไม่เท่ากัน เช่นคณะวิศวะอาจจะให้สัดส่วนในวิชาคณิตสูงกว่าวิชาอื่นๆ
ความยากของข้อสอบยากกว่ามาก ทำให้คะแนนสอบของนักเรียนทั่วประเทศไม่ค่อยกระจาย ไม่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กเรียน แต่เด็กที่เน้นเดาข้อสอบจะชอบกว่ามากเนื่องจากมีลุ้นฟลุ๊คเดาถูกง่ายกว่า คะแนนกระจายกว่า เป็นที่ชื่นชอบของเด็กเรียนมากกว่า
วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะแอดมิชชันส์รวมวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ เข้าเป็นวิชาเดียวกันคือ PAT2 เลือกแยกสอบไม่ได้ต้องสอบรวมกันหมด มีปัญหากับคณะสถาปัตย์บางที่ที่ไม่ต้องการให้สอบเคมีเลือกสอบได้ อิสระกว่า

 สรุป

โดยรวมแล้วพี่โอเล่ก็ยังแนะนำให้สอบทั้งหมดสองระบบอยู่ดีนะครับ และจะมุ่งเน้นไปที่ 9 วิชาสามัญมากกว่าแอดมิชชันส์ครับ ถ้ามีอะไรอัพเดทพี่จะมาโพสต์เพิ่มให้นะครับ 


ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2555 (สอบ ม.ค. 2555)
           - คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่
           ฟิสิกส์ + เฉลย คลิกที่นี่
           เคมี + เฉลย คลิกที่นี่
           ชีววิทยา คลิกที่นี่
           ภาษาไทย คลิกที่นี่
           สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2556 (สอบ ม.ค. 2556)
           คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย ตอนที่ 1 คลิกที่นี่ ตอนที่ 2 คลิกที่นี่
           ฟิสิกส์ + เฉลย คลิกที่นี่
           เคมี คลิกที่นี่
           ชีววิทยา คลิกที่นี่ 
           ภาษาไทย คลิกที่นี่
           สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           ภาษาอังกฤษ + เฉลย คลิกที่นี่

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2557 (สอบ ม.ค. 2557)
           คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่
           ฟิสิกส์ คลิกที่นี่
           เคมี คลิกที่นี่  + เฉลย คลิกที่นี่
           ชีววิทยา คลิกที่นี่
           ภาษาไทย คลิกที่นี่ 
           สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่

                                            ที่มา  http://p-dome.com/timeline-admissions-59/


ขอขอบคุณข้อมูล 9 วิชาสามัญจาก
ขอขอบคุณ ที่มา ไฟล์ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ จากแหล่งต่างๆ ดังนี้
          skyDrive รวบรวมไฟล์ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ โดย เอกพล อนันตภูมิ
          Facebook : SUCKSEED สำหรับคนที่มีฝันจะเป็นหมอ และก้าวไปพร้อมๆกัน
          Enconcept E-Academy
          อาจารย์ บุญช่วย ภัทรเลิศศิริ
          อาจารย์ สนธยา เสนามนตรี
          - อาจารย์ ดร.ธนพงษ์ กรีธาดำรงเดช หรือ อ.บิ๊ก A.BIG CENTER 
          อาจารย์ Rath Limprasittiporn Website : http://rathcenter.com
          อาจารย์ Sila Sookrasamee คุณครูวิชาคณิตศาสตร์
          - พี่อุ๋ย http://www.tutoroui.com และ http://www.tutoroui-plus.com
          ชูเกียติ ตันติวงศ์ – ชูเส็ง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          ทุกคน ที่ร่วมกันแชร์ไฟล์ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ

                                                                         

ขอขอบคุณภาพจาก คลิกที่นี่







วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 5 พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ฉลับล่าสุด (พ.ศ 2558)


พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ใหม่ (ฉบับที่ 2) ปี 2558 จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้เหล่าผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ต้องหันมาคำนึงเกี่ยวกับการเผยแพร่หรือแชร์สื่อต่างๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าว ออกมาเพื่อปราบปรามเหล่าผู้ละเมิดขี้ลอกทั้งหลาย โดยไม่ให้เครดิตเจ้าของงาน ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดถึงกว่า 1 แสนบาท อีกทั้งใครที่นำเอาผลงานของผู้อื่นบนโลกออนไลน์ไปใช้แสวงหาผลกำไร มีสิทธิ์ถูกปรับตั้งแต่ 5 หมื่น ถึง 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เลยทีเดียว โดยภาครัฐคาดหวังว่าจะเป็นกฎหมายที่คอยคุ้มครองเหล่าผู้สร้างสรรค์ผลงาน (เจ้าของลิขสิทธิ์) รวมถึงสร้างกฏเกณฑ์ให้กับผู้ใช้งานโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้น
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
(การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง)
1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
2. มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
3. สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้
(1) คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
(4) เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
(5) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดีทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้
(6) เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
(7) เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย
(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://tech.mthai.com/software/52062.html